ความรู้เกี่ยวกับประกัน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันชีวิต


ในการตัดสินที่จะเลือกรับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันชีวิตซักฉบับหนึ่ง จะต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง แล้วการประกันชีวิตเกี่ยวข้องกับการจัดสัดส่วนการลงทุนของเราอย่างไร จะขออธิบายพอเป็นสังเขปดังนี้ครับ
ความสำคัญอันดับแรกเลยของการตัดสินใจว่าจะรับความคุ้มครองการประกันชีวิตหรือไม่ คือ ในแต่ละเดือน จะต้องมีเงินเหลือเก็บหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว (พูดง่าย ๆ ก็คือมีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือนแหละครับ)
อันดับต่อมาก็คือการบริหารหรือจัดการเงินที่เหลือเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งหลาย ๆ ท่านจะนำเงินส่วนนี้ไปจัดสัดส่วนการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด หรือกล่าวได้ว่าเป็นการรักษาความมั่งคั่งให้กับตัวเองมากที่สุด เท่าที่สามารถจะทำได้
แต่การจัดสัดส่วนการลงทุนก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละท่านสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากน้อยแตกต่างกันเช่น ผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากหน่อย อาจจะจัดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงมากหน่อย (แต่ค่อยข้างไม่แน่นอน) : สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางเพื่อให้ได้ผลตอบแทนปานกลาง (ค่อนข้างแน่นอน) : สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แน่นอน (ซึ่งความเสี่ยงแต่ละประเภทคงไม่ต้องอธิบาย ณ ที่นี้ เพราะแฟนหนังสือการเงินการธนาคารคงเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว) เช่น 50%:30% :20% หรือผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อยหน่อย อาจจะจัดสัดส่วนการลงทุนเป็น 20%:30%:50% ทั้งนี้และทั้งนั้นคงต้องอยู่ที่สุขภาพทางร่างกายของแต่ละท่านด้วย เพราะผู้ที่มีสุขภาพไม่ค่อยจะดีนักก็คงต้องจัดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพื่อที่หากไม่สบายหรือเจ็บป่วยจะได้สามารถนำเงินมาชำระค่ารักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที
แต่หลาย ๆ ท่านอาจจะลืมไปว่า ร่างกายยอมมีวันเจ็บป่วย ยอมมีผลต่อการบริหารจัดการเงินออมที่มีอยู่อย่างแน่นอนหรืออาจถึงขั้นทำให้เงินออมที่มีอยู่หรอยหรอไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งปัจจุบันนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอีกประเภทหนึ่งที่สามารถชดเชยค่ารักษาพยาบาลแทนเราได้โดยไม่กระทบกับสัดส่วนการลงทุนของตัวเองหรือกระทบกับสัดส่วนการลงทุนน้อยที่สุด บางคนกล่าวว่าเป็นการรักษาความมั่งคั่งของการบริหารการเงินที่ฉลาดอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นเราเรียกว่า การประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นความคุ้มครองส่วนหนึ่งของการประกันชีวิต และนอกจากเรื่องการเจ็บป่วยแล้วที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผลิตภัณฑ์การประกันชีวิต ยังมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมถึง ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพ (พิการ) แน่นอนว่าไม่มีใครคิดว่าตนเองจะต้องประสบภาวะทุพพลภาพ แต่ใครจะกล้ารับประกันได้ว่าจะ
ไม่มีวันเกิดขึ้น ฉะนั้น การรู้จักวางแผนเตรียมรับมือความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น จึงถือเป็นความไม่ประมาทและเป็นความฉลาดที่สามารถควบคุมความไม่แน่นอนให้อยู่ในมือของนักบริหารจัดการเงินออมเช่นคุณได้
การประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยบรรเทาหรือภาระทางการเงินหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นกับร่างกายได้ เช่น การได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลกรณีต้องเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นผลจากการประสบอุบัติเหตุ แน่นอนว่าค่ารักษาพยาบาลโดยส่วนใหญ่เป็นจำนวนเงินที่สูงมาก ซึ่งมีผลให้กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวได้ ในบางครอบครัวอาจถึงขั้นประสบวิกฤตทางการเงินเลยที่เดียว เพราะนอกจากค่ารักษาพยาบาลที่เป็นจำนวนมากแล้ว อาจมีผลให้ผู้ประสบเหตุซึ่งเป็นผู้มีรายได้หลักของครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพปัจจุบันได้ ดังนั้น หากมีเครื่องมือทางการเงินใดในปัจจุบันที่สามารถแก้ปัญหาส่วนนี้ได้คงจะดีไม่น้อย
ความคุ้มครองจากประกันชีวิตประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
ความคุ้มครองหลัก และ
ความคุ้มครองเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วย ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลดังตัวอย่างข้างต้น นอกจากนี้ ยังมีความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า พิการ) ความคุ้มครองชดเชยรายได้ความคุ้มครองจากโรคร้ายแรง เป็นต้น ท่านสามารถขอรับความคุ้มครองเพิ่มหลังจากที่ท่านได้รับความคุ้มครองจากความคุ้มครองหลักแล้ว
สำหรับประเภทความคุ้มครองหลัก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว และ
ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตและสะสมเงินออมไปในคราวเดียวกัน
ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว ยังสามารถแยกย่อยได้อีกเป็น 2 กลุ่ม คือ
ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ จุดเด่นก็คือ เป็นความคุ้มครองที่มีระยะเวลาคุ้มครองเพียงปีเดียวเท่านั้น
ความคุ้มครองแบบจำกัดระยะเวลา เป็นความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว เพราะหากครบกำหนดระยะเวลา ก็สิ้นสุดความคุ้มครองทันทีและกรมธรรม์ประกันชีวิตก็สิ้นสุดลงด้วยเช่นกัน(เหมือนประกันรถยนต์ ครบกำหนดความคุ้มครองก็ไม่มีเงินคืน เข้าข่ายทำบุญนะครับ อย่าคิดมาก) แต่ถ้าหากเกิดเหตุอันมีผลให้ต้องเสียชีวิต บริษัทก็จะชดเชยเป็นเงินก้อนโตเลยทีเดียว และโดยส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเงินหลายเท่าของเงินที่ได้ชำระเบี้ยประกันภัยไป ซึ่งระยะเวลาความคุ้มครองท่านสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม เช่น 10 ปี 15 ปี หรือ 20 ปี
ความคุ้มครองแบบตลอดชีพ เป็นความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเพียงอย่างเดียวเช่นเดียวกันกับความคุ้มครองแบบจำกัดระยะเวลา แต่ต่างกันที่ระยะเวลาคุ้มครองจะยาวนานกว่า เช่น บางบริษัทให้ความคุ้มครองจนถึงอายุ 90 ปี (พรูตลอดชีพ) หรือบางที่ให้ความคุ้มครองจนถึงอายุ 99 ปีก็มี เหมือนกับให้ความคุ้มครองตลอดชีพจริง ๆ แต่หลายคนคงสงสัยว่าต้องชำระเบี้ยฯ ยาวนานเหมือนกันหรือไม่ อันนี้ขึ้นกับแต่ละบริษัท บางบริษัทอาจมีระยะชำระเบี้ยฯ สั้นเพียง 5 ปี หรือมีทางเลือกในการเลือกระยะชำระเบี้ยฯ เป็นระยะ 10 ปี หรือ 15 ปี ก็มี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น